หน่วยที่ 2 แนวคิด
หลักการและทฤษฎี ของนวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง กระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ
การกระทำของตนเองที่ใหม่ อาจหมายถึง ความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่
ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น
ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
·
นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ
ดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน
ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้
เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ
ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัด
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละ
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational
Technology) หมาย ถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา
ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ
มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม
องค์ประกอบ 3 ประการ คือ
-วัสดุ
- อุปกรณ์
-วิธีการ
แนวคิดรวบยอดของเทคโนโลยีทางการศึกษา
ซึ่งอาจจะพิจารณาเป็น 2 ด้าน
คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น
เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์
เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย
การบริหาร เครื่องยนต์กลไก
การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน
เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา สรุปได้4 ประการ คือ
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล แผนการศึกษาของชาติ มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจและความสามารถ
ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded
School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching
Machine)
- การสอนเป็นคณะ (Team
Teaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional
Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible
Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎี
ทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
มีหลายทฤษฎี เช่น
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ทฤษฎีการเสริมแรง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง
ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง สิ่งเร้า ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ
อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of
Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law
of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law
of Readiness)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง
เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์กล่าว ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองเนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว
สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้
ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะ ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน
(Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
(Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที
(Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง
(Reinforcement)
2.หลักการและทฤษฎี
เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
ทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ 10
ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน
2.การพัฒนามโนทัศน์
(Concept) ส่วนบุคคล ช่วยส่งเสริมความ คิด
ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละ
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อ
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ
และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ
ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการ
จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน
ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ
ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี
โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ
จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ
เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น
ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที
หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
3.ทฤษฎีการรับรู้
การรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้
ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด
ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ
การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด
ทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้
ลักษณะของสิ่งเร้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น